ลอยอังคารที่ทะเล

บริเวณจุดลอยอังคาร

โดยในปัจจุบัน "อ่าวดงตาล หน้ากองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ" หรือที่กล่าวขานว่าเป็น "ฮวงจุ้ยแห่งท้องทะเล" เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ "นิยมลอยอังคาร" โดยมีประชาชน บุคคลสำคัญ ดารา นักแสดง นิยมนำอัฐิ หรืออังคาร ของบุคคลอันเป็นที่เคารพรักมาลอย อีกทั้งอ่าวสัตหีบ เป็นอ่าวที่เงียบสงบการสัญจรทางน้ำจะไม่ค่อยมี เพราะเป็นเขตหวงห้ามของฐานทัพเรือ เป็นที่จอดเรือรบ ภายในอ่าวจะมีหมู่เกาะล้อมรอบไร้สิ่งรบกวน โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่จุดลอยอังคารหลังเกาะพระ (สถานที่ฝึก หน่วยซีล SEAL ) จะเป็นจุดที่น้ำใสสะอาดเป็นร่องน้ำไหลเย็นตลอดทั้งปี และเงียบสงบมาก

"ท้าวสีทันดร" คือใคร

ตามที่ได้ลองไปเปิดในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต 2542 ดู ไม่พบคำว่า "ท้าวสีทันดร" โดยตรง แต่พบคำว่า "สีทันดร" โดย ในพจนานุกรมฯ ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

โดยหมายถึง "ชื่อทะเล 7 แห่ง ดังนี้

1. อยู่ระหว่างภูเขาพระสุเมรุกับภูเขายุคนธร

2. ระหว่างภูเขายุคนธรกับภูเขาอิสินธร

3. ระหว่างภูเขาอิสินธรกับภูเขากรวิก

4. ระหว่างภูเขากรวิกกับภูเขาสุทัสนะ

5. ระหว่างภูเขาสุทัสนะกับภูเขาเนมินธร

6. ระหว่างภูเขาเนมินธรกับภูเขาวินตกะ

7. ระหว่างภูเขาวินตกะกับภูเขาอิสกัณ

โดยภูเขาทั้ง 7 นั้น รวมเรียกว่า "สัตบริภัณฑ์ หรือ สัตภัณฑ์" คือ ภูเขาที่ล้อมเป็นวงกลมรอบภูเขาพระสุเมรุเป็นชั้นๆ หลังจากเสร็จพิธีดังกล่าว ก็พาลให้ผมนึกสงสัย ถึงความหมายและที่มาที่ไปของพิธีดังกล่าว จึงพยายามที่จะค้นหาข้อมูลเท่าที่โอกาสและเวลาจะเอื้ออำนวย ทำให้พอทราบความหมายของพิธีดังกล่าวเล็กๆน้อยๆครับ

ส่วนคำว่า “อังคาร” นั้น หมายถึง ถ่านไม้ ถ่านเผา ถ่านไฟที่กำลังปะทุอยู่ในคำวัดหมายถึงเถ้าถ่านของศพ ที่เผาแล้ว แต่มักเข้าใจกันว่าหมายถึงอัฐิหรือกระดูกของคนตายที่เผาแล้ว และเมื่อทำพิธีเก็บอัฐิและทำบุญเสร็จแล้วนิยมรวบรวมอังคารห่อด้วยผ้าขาวหรือใส่โถแล้ว ห่อด้วยผ้าขาวนำไปทิ้งแม่น้ำหรือทะเลตอนที่มีร่องน้ำลึก โดยเชื่อว่าจะทำให้ผู้ตายได้อยู่ในสถานที่เย็นๆ โดยไม่มีใครรบกวน เรียกการกระทำอย่างนั้นว่า ลอยอังคาร

พิธีการลอยอังคารนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะได้รับคตินิยมมาจากอินเดีย เหตุเพราะคนอินเดียถือว่า แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชำระบาปได้ ด้วยเหตุนี้การเผาศพจึงชอบที่จะมาเผากันที่ริมแม่น้ำคงคากันมาก ทั้งนี้ก็เพียงเพื่อจะได้นำกระดูกและเถ้าถ่านทิ้งลงแม่น้ำแห่งนี้ เพราะถ้าไม่ได้สัมผัสกับน้ำในแม่น้ำคงคาแล้วก็จะไม่ได้ขึ้นสวรรค์ หรือไม่หมดบาปนั่นเอง

สำหรับประเทศไทยนั้น ได้มีการบันทึกในพงศาวดารกล่าวถึงพิธีการลอยอังคาร โดยเฉพาะการลอยพระอังคารของบรรดาเจ้านายต่างๆไว้อย่างชัดเจน และสืบเนื่องมากระทั่งกรุงรัตนโกสินทร์

อย่างไรก็ตาม ดังที่กล่าวมาแล้วว่า พิธีการลอยอังคารนั้นน่าจะมีที่มาจากอินเดีย ก็ยังคงมีความซับซ้อนไปอีกชั้นนึง โดยเชื่อว่าน่าจะมาจากอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก เหตุเพราะถ้าเป็นคติทางพุทธแล้ว มักจะนิยมเผาศพแล้วเอาอัฐิธาตุ (กระดูก) ฝังและก่อกองดินหรือกองหินตรงที่ฝัง ซึ่งเรียกกันว่า “สถูป”

ดังเช่นอังคาร ที่เป็นเถ้าถ่านจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า โมริยกษัตริย์ได้นำไปบรรจุไว้ในสถูปที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษเพื่อสักการบูชาที่เมืองปิปผลิวัน เรียกว่า “อังคารสถูป”

ดังนั้นประเทศไทยจึงรับเอาวัฒนธรรม ประเพณีนี้มาทั้งสองทาง คือ ทั้งฮินดู และพุทธ กล่าวคือสำหรับทางพุทธ ถ้าเป็นคนชั้นสูงก็จะก่อพระเจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ ถ้าเป็นคนชั้นล่างก็เป็นแต่เพียงฝังอัฐิธาตุหรือเอาไปกองทิ้งไว้โคนต้น ส่วนพระอังคารหรือถ่านที่เผาพระศพ ก็จะเชิญไปลอยปล่อยไปในแม่น้ำตามคติทางฮินดู เพิ่งมาเลิกลอยพระอังคาร เปลี่ยนเป็นบรรจุเมื่อ รัชกาลที่ 5 มานี้เอง

สำหรับผู้เขียนเอง...การลอยอังคารไม่เพียงแต่เป็นการฝากคนที่เรารักไว้กับแม่พระคงคา เทพยดาผู้รักษาน้ำ เพื่ออภิบาลดวงวิญญาณของผู้นั้น เท่านั้น แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการละวางทั้งปวง ร่างกาย สังขาร ทั้งหลาย เมื่อแตกดับ กลับคือสู่ธาตุต่างๆที่มาประชุมกัน เหลือเพียงผงธุลี ฝากไว้ในอากาศ ในดิน ในน้ำกลับคืนสู่ ... บ้าน อันนิรันดร์และแท้จริงของสรรพสิ่งทั้งมวล

<<<สถานที่ลอยอังคาร กองเรือยุทธการ>>>

ติดต่อสอบถาม และจองเที่ยวเรือ ณ ฮวงจุ้ยลอยอังคาร ได้ที่

โทร.033-147689 มือถือ 095-7233739