เหรียญเสด็จเตี่ย พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

เหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่น ยันต์สมอ"

นักเรียนจ่าทหารเรือรุ่น ๑๖

ประวัติ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงเป็นต้นราชสกุล "อาภากร" เป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยเป็นพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์ที่ ๑ ในเจ้าจอมมารดาโหมด ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อเดือนอ้าย ปีมะโรง วันอาทิตย์ที่ ๑๙ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓

ในด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาอบรมมาแต่ทรงพระเยาว์ ทรงเริ่มการศึกษาในพระบรมมหาราชวังก่อน และเมื่อพระชนมายุย่างเข้า ๑๓ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ โดยพระองค์ได้ทรงศึกษาวิชาการทหารเรือ นับเป็นพระองค์แรกในบรรดาพระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ และทรงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ศึกษาวิชานี้ ในต่างประเทศ เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรชั้นสูงของโรงเรียนนายเรืออังกฤษกลับมา พระองค์ได้ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือเป็นครั้งแรก ได้ทรงเอาพระทัยใส่ต่อกิจการทหารเรือเป็นอย่างมาก และได้ทรงวางรากฐานด้านการศึกษาให้ทหารเรือ ทรงประสิทธิ์ประสาทวิชาการทหารเรือ ให้บรรดาทหารเรือด้วยพระองค์เอง ทรงตั้งปณิธานอย่างแรงกล้าในอันที่จะให้ทหารเรือไทยได้มีความสามารถในการเดินเรือออกทะเล และสามารถปฏิบัติหน้าที่ทางยุทธวิธีได้อย่างดีโดยไม่ต้องมีชาวต่างประเทศเป็นผู้บังคับการเรืออีกต่อไป และทรงปลูกฝังจิตวิญญาณทหารเรือไว้ในจิตใจของทหารเรือทุกคนเพื่อให้เป็นทหารเรืออย่างแท้จริง พระราชจริยวัตรที่ทรงแสดงออกจากน้ำพระทัยของพระองค์ต่อทหารเรือทั้งหลายในสมัยนั้น ทรงแสดงออกอย่างบิดากับบุตร เป็นที่ทราบซึ้งและเคารพศัทธาของทหารเรืออย่างยิ่ง พระองค์ได้รับการเชิดชูในหมู่ทหารเรือเรียกขานด้วยความเคารพในพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" องค์บิดาของทหารเรือไทย

เสด็จในกรมฯ มิได้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องวิชาการทางเรือหรือทางทหารเรือเพียงเท่านั้น ด้วยความที่พระองค์เป็นผู้มีพระทัยเด็ดเดี่ยว จะศึกษาหรือจะกระทำสิ่งใดก็จะทรงตั้งพระทัยปฏิบัติจริงจัง ดังคติประจำพระทัยว่า "กยิรา เจ กยิราเถนัง" จะทำสิ่งใดก็ให้ทำจริง ดังนั้นพระองค์ท่านจึงมีพระปรีชาสามารถในการต่างๆหลายด้าน เช่น ทรงศึกษาวิชาการแพทย์แผนโบราณก็มีความแตกฉานชำนาญสามารถรักษาโรคให้ประชาชนทั่วไป ได้โดยไม่ถือพระองค์ไม่คิดมูลค่าในการรักษาและสามารถรักษาให้หายได้เป็นปลิดทิ้งจนเป็นที่เลื่องลือว่าเป็นหมอผู้มีอภินิหาร หรือให้นามพระองค์ว่า "หมอพรผู้วิเศษ"

นอกจากนั้นพระองค์ท่านยังมีพระเกียรติประวัติเลื่องลือไปทั่วเกี่ยวกับ เรื่องสนใจในธรรมะและอภินิหารทางไสยศาสตร์ ซึ่งในสมัยของพระองค์ถือกันว่าเป็นคุณสมบัติของนักรบ นักเลง และคุณสมบัติของลูกผู้ชายไทยอย่างหนึ่งที่จะต้องศึกษาเรียนรู้ไว้ เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ “องค์บิดาของทหารเรือไทย” นั้น ทรงเลื่อมใสไสยศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิใกล้ชิดของหลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ผู้โด่งดังในเรื่องไสยเวทย์ กล่าวกันว่า ถ้ากล่าวถึงกรมหลวงชุมพรฯ ก็เว้นเสียมิได้ที่จะต้องกล่าวถึงหลวงปู่ศุข และถ้ากล่าวถึงหลวงปู่ศุข ก็เว้นเสียมิได้เช่นกันที่จะต้องกล่าวถึงกรมหลวงชุมพรฯ ความสัมพันธ์ของศิษย์และอาจารย์คู่นี้ เริ่มขึ้นเมื่อเสด็จในกรมเสด็จประพาสทางน้ำ โดยมีเรือกลไฟลากจูงเรือพระที่นั่งขึ้นไปทางเหนือและไปจอดหุงข้าวต้มแกงกันที่หน้าวัดมะขามเฒ่า เผอิญวันนั้นหลวงปู่ศุขใช้ให้เด็กวัดไปตัดหญ้าที่ดงกล้วย เด็กเห็นหัวปลีสุดอยู่ ๗-๘ หัวจึงตัดกองไว้ ตกบ่ายหลวงปู่เดินลงไปดูเด็กตัดหญ้า เห็นหัวปลีกองอยู่จึงนั่งลงหยิบมาลูบคลำ สักครู่ก็วางลง ทันใดหัวปลีก็กลายเป็นกระต่ายวิ่งเพ่นพ่าน กรมหลวงชุมพรฯ ทอดพระเนตรเห็นอัศจรรย์ ดังนั้นจึงเรียกคนในเรือมาดู สักครู่กระต่ายที่วิ่งอยู่ก็กลับมาหาหลวงปู่ศุข หลวงปู่จึงจับมาวางที่กองเก่า กลายเป็นหัวปลีไปอย่างเดิม กรมหลวงชุมพรฯ ไม่รอช้า ชวนพระยากาจกำแหงและผู้ติดตามอีก ๒ คนขึ้นไปกราบนมัสการหลวงปู่ คุยกันสักพักหลวงปู่ก็ชวนขึ้นไปคุยบนกุฏิ ต่างคุยถูกคอจนสี่ห้าทุ่ม จึงเสด็จกลับเรือ หลวงปู่ก็ไม่รู้ว่าใครที่มาคุยด้วยจนดึก เช้าขึ้นให้คนไปสืบถามกับคนที่มาในเรือจึงได้รู้ว่า เป็นพระองค์เจ้าอาภากร ลูกในหลวงรัชกาลที่ ๕ รุ่งเช้ากรมหลวงชุมพรฯ ก็เสด็จขึ้นไปหาหลวงปู่อีก หลวงปู่ก็รับรองเต็มที่ ครั้งนี้คุยกันยาวถึงบ่าย ๒ โมงโดยต่างก็ไม่รู้สึกตัว หลวงปู่ลืมฉันเพล เสด็จในกรมก็ไม่ได้เสวยอาหารกลางวัน ตอนบ่ายหลวงปู่ได้ถามว่า “อยากดูคนเป็นจระเข้มั้ย?” เสด็จฯ รับว่าอยากดู หลวงปู่จึงขอหาทหารเรือมา ๑ คน เสด็จฯ ก็ให้คนไปเรียกพลทหารจ๊อกมา หลวงปู่บอกกับพลทหารจ๊อกว่า “เป็นจระเข้ให้เขาดูหน่อย” แล้วพาไปที่ขอบบ่อ เอาเชือกผูกเอวพลทหารจ๊อกไว้ ให้นั่งหลับตาพนมมือ หลวงปู่เสกเป่าอยู่พักหนึ่งแล้วผลักพลทหารจ๊อกลงไปในบ่อ บัดดลพลทหารจ๊อกก็กลายเป็นจระเข้ไปทันทีท่ามกลางสายตาของคนในเรือที่ตามมาดูรอบบ่อ สักครู่หลวงปู่ให้เอาบาตรตักน้ำมาทำเป็นน้ำมนต์ แล้วสาดลงไปในบ่อ พลทหารจ๊อกก็กลับเป็นคนอย่างเดิม ลากกลับขึ้นมาด้วยอาการปกติ หลังจากการแสดงของหลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่าครั้งนั้น กรมหลวงชุมพรฯ ก็ไม่ได้เสด็จไปตากอากาศที่ไหนอีก เมื่อมีเวลาเมื่อใดเป็นต้องเสด็จไปประทับที่วัดมะขามเฒ่า ขณะเดียวกันก็สร้างกุฏิขึ้นหนึ่งหลังที่วังนางเลิ้ง สำหรับให้หลวงปู่พักเมื่อมากรุงเทพฯ เมื่อหลวงปู่มาแต่ละครั้งก็ปรากฏว่ามีบริวารของเสด็จฯ เองรวมทั้งประชาชนอื่นๆ แห่ไปหาจนแน่นกุฏิทั้งกลางวันกลางคืน เพื่อขอของดี กรมหลวงชุมพรฯ ต้องกำหนดเวลาตั้งแต่เช้าถึงเพลรอบหนึ่ง และย่ำค่ำถึงสามทุ่มอีกรอบ นอกนั้นห้ามรบกวนหลวงปู่

แม้ในปัจจุบันพระเกียรติคุณเรื่องนี้ของพระองค์ท่านก็ยังเป็นที่โจทย์ขานกันทั่วไปในหมู่คนไทยที่เชื่อในเรื่องเครื่องลางของขลัง พระอนุเสาวรีย์และเหรียญรูปพระองค์ท่านได้รับการจัดสร้างด้วยความศรัทธาและเลื่อมใสจากผู้คนที่เคารพนับถือพระองค์ท่านอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาดการสร้างเลยและคงเป็นเช่นนี้อีกต่อไป

ความเป็นมา

เนื่องในโอกาสที่นักเรียนจ่าทหารเรือ รุ่น หนึ่งหก ได้รับราชการในกองทัพเรือ มาครบวาระเกษียณ ด้วยจิตใจที่รักในกองทัพเรือและศรัทธาในพระบารมีของ พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์(เสด็จเตี่ย) องค์บิดาของทหารเรือไทย คณะนักเรียนจ่าทหารเรือ รุ่นหนึ่งหก จึงได้พิจารณาร่วมกันจัดสร้างวัตถุมงคลเหรียญเสด็จเตี่ยขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสเกษียณ และเพื่อเป็นวัตถุมงคลประจำรุ่น ที่เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของรุ่นและบุคคลทั่วไป เพื่อแลกเก็บไว้บูชาตลอดจนเป็นที่ระลึก อันเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระบารมีของพระองค์ท่าน เหรียญเสด็จเตี่ยจัดสร้างเพียงพิมพ์เดียว มีเนื้อทองคำและเนื้อทองฝาบาตร จำนวนการจัดสร้าง ๔,๘๘๙ เหรียญ โดยกำหนดจำนวนจากปี พ.ศ. ประสูติ ๒๔๒๓ ร่วมกับปี พ.ศ.สิ้นพระชนม์ ๒๔๖๖ ด้านหน้าเหรียญเป็นรูปพระองค์ท่าน ส่วนบนของเหรียญ ออกแบบให้เป็นคานตะกรุด มีอักขระทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ส่วนยันต์ด้านหลังเหรียญเป็นรูปสมอเรือ เพื่อเป็นการสื่อถึง ที่มาของเหรียญนี้เกี่ยวเนื่องกับทหารเรือ และให้ชื่อเหรียญรุ่นนี้ว่า เหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่น ยันต์สมอ" เหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่น ยันต์สมอ" นี้ คณะกรรมการจัดสร้างมีความเห็นตรงกัน เพื่อให้เหรียญเป็นที่ศรัทธาและทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นเมื่อจัดสร้างเหรียญครบจำนวน ๔,๘๘๙ เหรียญแล้วจะทำการทำลายบล็อกแม่พิมพ์เพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่ประสงค์ดีนำไปจัดสร้างเพิ่มเติมอีกต่อไป

วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างเหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่นยันต์สมอ"

:เพื่อเป็นวัตถุมงคลประจำรุ่นที่เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจของรุ่น และบุคคลทั่วไปแลกเก็บไว้บูชา

: เพื่อเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณของเสด็จในกรมฯ

: เพื่อจัดหารายได้ บริจาคให้วัดสัตหีบ บริจาคให้มูลนิธิราชกุลอาภกร บริจาคสมทบทุนจัดสร้างหอเกียรติยศ นรจ.ชุมพลทหารเรือ เป็นเงินสงเคราะห์ นรจ.รุ่น ๑๖ กรณีเสียชีวิต และใช้ในกิจการสาธารณะประโยชน์อื่นๆ

ความคิดในการออกแบบเหรียญและรูปลักษณ์

๑. ต้องการเหรียญที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใคร แต่ดูแล้วให้มีความเข้มขลังเป็นที่น่าเลื่อมใสและศรัทธา

๒. เหรียญควรสื่อถึงพุทธานุภาพ พุทธาคมที่บรรจุไว้ในเหรียญและพระเกียรติประวัติที่เลื่องลือทางไสยศาสตรที่เสด็จในกรมฯทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาและศึกษาจนมีความแตกฉานเป็นที่กล่าวขานของคนทั่วไป นอกจากนั้นต้องสื่อถึงพระองค์ท่าน ในฐานะเป็นองค์บิดาของทหารเรือไทย เพื่อให้ผู้ที่ครอบครองเหรียญรุ่นนี้มีความเชื่อมั่นเลื่อมใสและศรัทธาในพระองค์ท่าน รวมทั้งทหารเรือและกองทัพเรือไทย

๓. ต้องการรูปลักษณ์ของเหรียญที่มีความแตกต่างไปจากเหรียญที่มีการสร้างกันอยู่ในปัจจุบันซึ่งได้มีการสร้างเหรียญพระรูปท่านที่มีลักษณะคล้ายกันจำนวนมาก

๔. ต้องการสร้างเหรียญที่มีลักษณะและเนื้อโลหะชนวนและมวลสารแบบย้อนยุค

จากแนวความคิดตามที่ได้กล่าวมาแล้ว คณะผู้จัดสร้างเหรียญฯ จึงได้ศึกษารูปลักษณะเครื่องรางของขลัง ในสมัยโบราณและได้ทราบว่าคนสมัยก่อนมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งในยามที่จะออกศึกสงคราม มักจะทำเครื่องรางของขลังจากไม้มงคลหรือว่านและมวลสารที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์เป็นรูปเสมาซึ่งเป็นเครื่องบ่งบอกถึง อาณาเขตของสงฆ์หรือโบสถ์อันเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์สงบและปลอดภัยโดยนำมาคล้องคอหรือห่อใส่ผ้าประเจียดผูกแขนไปออกศึกสงครามซึ่งตรงกับแนวความคิดของผู้จัดสร้างที่ต้องการเอกลักษณ์เฉพาะที่ไม่เหมือนใครแต่มีความเข้มขลังน่าเลื่อมใสศรัทธาดังที่ได้กล่าวไว้ ดังนั้นเหรียญรุ่นนี้จึงมีรูปลักษณะเป็นใบเสมา แตกต่างจากเหรียญเสด็จในกรมฯ ที่จัดสร้างกันอยู่ในปัจจุบัน และให้เหรียญรุ่นนี้ได้สื่อถึงพระองค์ท่าน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย) องค์บิดาของทหารเรือไทย ในการนี้คณะผู้จัดสร้างได้อัญเชิญพระรูปและลายพระหัตถ์มาไว้ด้านหน้าของเหรียญ ส่วนด้านหลังเหรียญได้ออกแบบยันต์ให้เป็นรูปสมอเรือเพื่อสื่อถึงทหารเรือและกองทัพเรือโดยในยันต์สมอที่ออกแบบนั้นมีอักขระ พระคาถา ๗ พระคาถา รวมกับพระคาถาที่คานตะกรุดด้านบนของเหรียญทั้งด้านหน้าและด้านหลังเหรียญอีก ๒ พระคาถรวมเป็น ๙ พระคาถาและให้ชื่อเหรียญรุ่นนี้ว่า เหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่น ยันต์สมอ" ซึ่งเหรียญนี้นอกจากจะสื่อถึงพระองค์ท่านแล้ว ยังสื่อถึงทหารเรือและกองทัพเรือ สมดังเจตนาที่ตั้งใจไว้ส่วนเนื้อโลหะ ชนวนและมวลสารที่นำมาจัดสร้างนั้น เดิมคณะกรรมการตั้งใจจะใช้มงคลสารย้อนยุคโดยกำหนดเนื้อโลหะที่จะจัดสร้าง คือเนื้อระฆัง ความหมายเพื่อให้มีความเกร่งกล้า และดังกังวาลเหมือนระฆัง แต่ได้รับคำแนะนำจากผู้รู้ผู้มีประสบการณ์ ว่าเนื้อระฆังมีความแข็งมากเมื่อปั๊มเหรียญออกมาแล้วผิวจะไม่เรียบขาดความคมชัดแนะนำให้ลดความแข็งของเนื้อโลหะที่จะใช้ทำลง จากเนื้อระฆัง ให้เปลี่ยนเป็นเนื้อทองฝาบาตรแทนซึ่งคณะจัดสร้าง ก็ได้ปรับเปลี่ยนตามคำแนะนำ ดังนั้นเหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่น ยันต์สมอ" จึงสร้างด้วยเนื้อทองฝาบาตร จำนวนการสร้าง ๔,๘๘๙ เหรียญ และสร้างเหรืยญ ทองคำเพียง ๙ เหรียญ เพื่อความเป็นสิริมงคล และเทิดทูลพระเกียรติของพระองค์ท่าน พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (เสด็จเตี่ย)องค์บิดาของทหารเรือไทย สุดท้ายมีคำกล่าวว่า "เรือรบต้องมีสมอฉันใด" ทหารเรือไทยต้องมีเหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่น ยันต์สมอ" ฉันนั้น

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญประกอบด้วย

๑. น.อ.สุทธิ คารวะวุฒิกุล

๒. น.อ.ดำรง มีจันทร์

๓. น.อ.สมชาย ยิ้มเยื้อน

๔. น.อ.สิทธิชัย บริบูรณ์

๕. น.ท.ถาวร จูเอี่ยม

๖. น.ต.สมโภชน์ ผาติเสนะ

๗. ร.ต.ดนัย พันธุโม

ขั้นตอนการดำเนินการจัดสร้าง

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญฯได้ออกแบบเหรียญเรียบร้อยแล้ว และทราบข่าวว่าวัดสัตหีบ ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี จะมีพิธีพุทธาภิเษกในวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ธ.ค.๕๙ พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์หลายรูปตามแผ่นพับด้านล่าง

คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญฯ ทำหนังสือขออนุญาตร่วมพิธีพุทธาภิเษกเสนอ

เจ้าอาวาสวัดสัตหีบ

ประสานโรงหล่อพุทธนิมิตมงคล จ.นครปฐม

ส่งแบบให้ โรงหล่อทำการสเก็ตภาพ

โรงหล่อฯ ส่งภาพสเก็ตให้คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะกรรมการทำเรื่องขออนุญาตจัดสร้างเหรียญฯ เสนอมูลนิธิราชกุลอาภากร

มูลนิธิราชสกุลอาภากร ให้อนุญาตจัดสร้างเหรียญเสด็จเตี่ย"รุ่น ยันต์สมอ"

คณะกรรมการทำพิธีบวงสรวงเสด็จเตี่ยที่ศาลแหลมปู่เจ้า ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

โรงหล่อพุทธนิมิตทำภาพ 3D ให้คณะกรรมการตรวจความถูกต้อง

คณะกรรมการตรวจความถูกต้องและให้โรงหล่อทำการทดลองพิมพ์ตะกั่วไม่ตัดปีก จำนวน ๙ เหรียญ

โรงหล่อฯ ปั้มเหรียญตะกั่วให้คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญ จำนวน ๙ เหรียญ

คณะกรรมการตรวจความถูกต้องพร้อมสั่งทำการปั๊มเหรียญเนื้อทองฝาบาตรจำนวน ๔,๘๘๙ เหรียญ

เมื่อปั๊มครบ ๔,๘๘๙ เหรียญ คณะกรรมการจัดสร้างเหรียญฯ

ทำลายแม่พิมพ์ เหรียญเสด็จเตี่ย

"รุ่น ยันต์สมอ"

วันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ วัดสัตหีบทำพิธีพุทธาภิเษก

เวลา ๑๐๓๙ พระครูทัสนียคุณากร(หลวงพ่อณะ) เจ้าอาวาสวัดสัตหีบทำพิธีบวงสรวงเทวาภิเษก

เวลา ๑๓๐๐ สวดพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร

เวลา ๑๔.๑๙ พระมงคลวรากร(หลวงพ่อชาญ) วัดบางบ่อ จ.สมุทรปราการ

จุดเทียนชัยทำพิธีพุทธาภิเษก

พระเกจิอาจารย์ทำพิธีนั่งปรก

หลวงพ่อสินวัดระหารใหญ่นั่งปรกเดี่ยว

หลังจากทำพิธีพุทธาภิเษกที่ วัดสัตหีบ ในวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๕๙ เรียบร้อยแล้วในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติของเสด็จในกรมฯ คณะนักเรียนจ่าทหารเรือ รุ่น หนึ่งหก ได้นำเหรียญเสด็จเตี่ย "รุ่นยันต์สมอ"ไปขออราธนา หลวงพ่อสินวัดระหารใหญ่ ทำพิธีนั่งปรกเดี่ยวอีกหนึ่งครั้ง

เบอร์โทรศัพท์เช่าเหรียญเสด็จเตี่ย

"รุ่นยันต์สมอ"

น.อ.สุทธิ คารวะวุฒิกุล โทร.๐๘๑ ๓๔๐ ๕๘๕๒

น.อ.ดำรง มีจันทร์ โทร.๐๘๙ ๖๙๗ ๕๖๔๔

น.อ.สมชาย ยิ้มเยื้อน โทร.๐๘๖ ๕๕๑ ๓๖๐๑

น.อ.สิทธิชัย บริบูรณ์ โทร.๐๘๗ ๖๑๔ ๙๑๕๒

น.ท.ถาวร จูเอี่ยม โทร.๐๘๕ ๔๓๖ ๘๕๑๕

น.ต.สมโภชน์ ผาติเสนะ โทร.๐๘๑ ๕๗๘ ๕๕๗๐

ร.ต.ดนัย พันธุโม โทร.๐๘๙ ๗๔๘ ๐๖๗๗